หยุด ! ผัก 5 ชนิดที่ไม่ควรกินดิบ
เรื่องแบบนี้ถึงไม่ต้องบอกก็มีคนรู้ ว่าอะไรก็ตามที่มาจากธรรมชาติล้วนแล้วแต่ส่งผลดีต่อร่างกายของเราทั้งสิ้น อย่างเช่น ผัก ที่มักเป็นของเคียงในเวลาที่เรารับประทานอาหาร ยิ่งเป็นผักสดก็ยิ่งดี เพราะสารอาหารที่เราจะได้นั้นกำลังจะเดินเข้ามาสู่ร่างกายของเราแบบเต็ม ไปตกหล่น หรือหายไปในระหว่างที่กำลังปรุงสุก หรือต้องผ่านความร้อน แต่รู้หรือไม่ว่า !? ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพในบางเรื่องก็ไม่ควรที่จะกินผักแบบดิบๆ เพราะอาจเกิดอันตรายแฝงในแบบที่เราไม่ทั้นตั้งตัวก็เป็นได้ ว่าแต่จะมีผักชนิดใดบ้างล่ะ ลองมาเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน
1. กะหล่ำปลี ที่มีสารลอยโตรเจน :
การรับประทานกะหล่ำปลีสดๆ นั้น อาจไม่ใช่เรื่องที่เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไฮโปไทรอยด์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นผู้ที่มีปัญหาต่อมไทรอยด์มีระบบการทำงานต่ำกว่าปกติ แล้วยิ่งประทานผักจำพวกกะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หรือผักชนิดอื่นๆ ที่มีสารกอยโตรเจน ก็จะยิ่งทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลงไปกว่าเดิมอีก ฉะนั้น หากอยากรับประทานผักพวกนี้ ก็ควรนำไปผ่านความร้อน หรือทำให้สุกเสียก่อนน่าจะดีกว่า ส่วนคนที่ปกติดีทุกประการ ก็สามารถกินได้อย่างไม่มีปัญหา แค่ต้องระวังเรื่องสารตกค้าง ยาฆ่าแมลงเท่านั้น ต้องแยกออกมาล้างเป็นใบๆ ก้านๆ ให้สะอาด จากนั้นก็กินได้
2. ถั่วฝักยาว ที่อาจมาพร้อมกับสารปนเปื้อน :
บางคนอาจมีอาการท้องอืดหลังจากที่กินถั่วฝักยาวดิบเข้าไป แต่อย่าเพิ่งวิตก ! เพราะอาการที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นที่ระบบลำไส้ของแต่ละคนเสียมากกว่า ซึ่งในความเป็นจริง ถั่วฝักยาวก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่มีการใช้ยากำจัดศัตรูพืชในปริมาณที่มาก ไม่แปลก ที่ถั่วฝักยาวจะซึมซับเอาสารเหล่านี้เข้าไป กว่าสารจะสลายตัวก็ใช้เวลาถึง 7 วัน ฉะนั้น ก่อนที่จะเอามากินก็ต้องล้างให้สะอาด ทำความสะอาดซ้ำๆ จนกว่าจะแน่ใจ หรืออาจต้องแช่น้ำทิ้งไว้ให้สารออกไปกับน้ำ
3. หน่อไม้และพืชตระกูลมัน กับสารไซยาไนด์ :
ใครจะรู้ว่าหน่องไม้ดิบ มันสำปะหลัง และมันฝรั่งจะมีสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่าง ไซยาไนด์ ก่อนที่จะเอาพืชเหล่านี้มากิน ก็ควรที่จะนำไปผ่านความร้อนด้วยการต้นตั้งแต่ 10 นาทีขึ้นไป สารไซยาไนด์จึงจะสลายหายไป
4. ถั่วงอก ที่อาจมากับเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อน :
ไม่ใช่แค่ถั่วงอกในบ้านเราเท่านั้นที่พบการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรีย อย่าง ซาลโมเนลลา หรืออีโคไล แต่ในต่างประเทศก็มีการพบในลักษณะนี้เช่นกัน เนื่องจากการเพาะถูกงอกนั้น ความชื้นและอุณภูมิที่ใช้ในการเจริญเติบก็เป็นผลดีต่อการเพาะเชื้อเหล่านั้นเช่นกัน เมื่อจะนำมารับประทาน ก็ควรจะนำไปปรุงผ่านความร้อน เชื้อโรคก็จะถูกทำลาย ความปลอดภัยในการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น
5. ผักโขม กับกรดออกซาลิก :
แม้ว่าร่างกายของเราจะมีความต้องการอาหารที่มีธาตุเหล็กและแคมเซียมที่ได้จากผัก แต่เมื่อเรารับประทานผักโขมเข้าไป ก็อาจทำให้ร่างกายนั้นดูดซึมธาตุเหล็กและแคลเซียมได้น้อยลง เนื่องจากกรดออกซาลิกในผักโขมจะเข้าไปขัดขวางกระบวนการทางร่างกายที่จะดึงเอาธาตุเหล็กและแคลเซียมไปใช้ หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการกินร่วมกับอาหารอย่างอื่นๆ